รับลมหมหนาว ที่ดอยปุย

ดอยปุย

เป็นที่อยู่ของหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง (แม้ว) อยู่เลยขึ้นไปจากพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ 4 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ของ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ตั้งของดอยปุยอยู่ในแนวของเทือกเขาถนนธงชัย สูงจากระดับน้ำทะเล 1,658 เมตร สภาพภูมิประเทศของดอยปุยเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่และป่าสน และดอกไม้เมืองหนาวที่ชาวเขาปลูกไว้ ถ้ามาในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคมดอกนางพญาเสือโคร่งจะออกดอกสีชมพูสวยงาม บนดอยปุยมีอากาศหนาวเย็นและชื้นเกือบตลอดทั้งปี ทางขึ้นไปยังดอยปุยเป็นถนนลาดยาง คดเคี้ยว ทางแคบพอรถสวนกันได้ และลาดชันเป็นบางช่วง

บริเวณรอบๆ หมู่บ้านชาวเขา มีทิวทัศน์ที่สวยงามอย่างยิ่งและยังสามารถมองเห็นดอยอินทนนท์เบื้องหน้าได้อย่างชัดเจนอีกด้วย นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมได้สะดวกเพราะอยู่ใกล้ตัวเมือง เดินทางได้ทั้งรถส่วนตัวและรถแดง โดยใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ภายในหมู่บ้านมีร้านขายของที่ระลึกซึ่งมีทั้งผลิตภายในหมู่บ้านและนำมาจากที่อื่นวางขายให้แก่นักท่องเที่ยวด้วย หรือถ้าต้องการเช่าชุดชาวเขาใส่ถ่ายรูป มีให้เช่าที่ด้านหน้าทางเข้า

     ใกล้กับยอดดอยปุยมีสถานที่สำหรับกางเต็นท์ ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 250 คน ซึ่งห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ประมาณ 7 กิโลเมตร เส้นทางค่อนข้างแคบและลาดชัน สำหรับผู้ที่ไม่ชินเส้นทาง ควรเดินทางไปถึงก่อนเวลา 17.00 น. เพื่อความสะดวกและปลอดภัย

สิ่งที่น่าสนใจบนดอยปุย

ยอดดอยปุย

ยอดดอยปุย สูง 1,658 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นจุดสูงสุดของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี บนยอดดอยปกคลุมด้วยป่าสนเขาผืนใหญ่ และเป็นแหล่งดูนกที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง ดอยสุเทพและดอยปุยเป็นถิ่นอาศัยของนกมากกว่า 300 ชนิด เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว นกกางเขนน้ำหลังดำ นกศิวะปีกสีฟ้า ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาวยังมีนกอพยพบินย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยอีกเป็นจำนวนมาก หลายชนิดเป็นนกหายาก โดยเฉพาะ นกเขน นกจับแมลงสีคราม นกเดินดงอกลาย นกปีกแพรสีม่วง ฯลฯ

ใกล้กับยอดดอยปุยมีสถานที่สำหรับกางเต็นท์ ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 250 คน ซึ่งห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ประมาณ 7 กิโลเมตร เส้นทางค่อนข้างแคบและลาดชัน สำหรับผู้ที่ไม่ชินเส้นทาง ควรเดินทางไปถึงก่อนเวลา 17.00 น. เพื่อความสะดวกและปลอดภัย

ดอยปุย
ดอยปุยดอยปุย

ดอยปุย

ดอยปุย

ดอยปุย

แหม ๆ ลมหนาวพัดผ่านมาแบบนี้ แถมยังมีวัดหยุดพักผ่อนยาว ๆ อีกเพียบ งานนี้จะให้นอนแกร่วอยู่บ้านก็กระไรอยู่ เก็บเสื้อผ้ายัดใส่กระเป๋า ไปปลดปล่อยสมองให้โปร่งโล่งสบายกับความงามของธรรมชาติกันดีกว่า ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมจะขอนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ก็คือ ดอยปุย ยอดเขาที่สูง 1,658 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แถมยังเดินทางไปง่ายนิดเดียว อะ ๆ ถ้าพร้อมแล้วก็แบกเป้ ผูกเชือกรองเท้าตามเข้ามาเลย

ดอยปุย เป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 24 ของประเทศ มีลักษณะของพื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนอยู่ในแนวเทือกเขาถนนธงไชย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของตัวเมืองเชียงใหม่ และพื้นที่บางส่วนของอำเภอรอบ ๆ สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่จะหนาวเย็นและชุ่มชื้น เนื่องจากได้รับไอน้ำจากเมฆหมอกที่ปกคลุมอยู่เกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในพื้นที่อยู่ระหว่าง 10-12 องศาเซลเซียส

สถานที่ท่องเที่ยว ดอยปุย ได้แก่…

 

 


ยอดดอยปุย

ยอดดอยปุย สูง 1,658 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นจุดสูงสุดของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี บนยอดดอยปกคลุมด้วยป่าสนเขาผืนใหญ่ และเป็นแหล่งดูนกที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง ดอยสุเทพและดอยปุยเป็นถิ่นอาศัยของนกมากกว่า 300 ชนิด เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว นกกางเขนน้ำหลังดำ นกศิวะปีกสีฟ้า ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาวยังมีนกอพยพบินย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยอีกเป็นจำนวนมาก หลายชนิดเป็นนกหายาก โดยเฉพาะ นกเขน นกจับแมลงสีคราม นกเดินดงอกลาย นกปีกแพรสีม่วง ฯลฯ

ใกล้กับยอดดอยปุยมีสถานที่สำหรับกางเต็นท์ ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 250 คน ซึ่งห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ประมาณ 7 กิโลเมตร เส้นทางค่อนข้างแคบและลาดชัน สำหรับผู้ที่ไม่ชินเส้นทาง ควรเดินทางไปถึงก่อนเวลา 17.00 น. เพื่อความสะดวกและปลอดภัย

ดอยปุย

ดอยปุย

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์

เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในด้านความสวยงาม และมีความสำคัญยิ่ง คือ เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ บริเวณใกล้ดอยบวกห้า คำว่า “ดอยบวกห้า” เป็นชื่อเรียกตามคำพื้นเมือง ดอยหมายถึงภูเขา บวกหมายถึง หนองน้ำ ห้าหมายถึงต้นหว้า หมายความว่า ที่ยอดดอยแห่งนี้มีหนองน้ำอุดมไปด้วยต้นหว้า ขึ้นปกคลุมทั่วบริเวณหนองน้ำนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2504 และพระราชทานนามพระตำหนักนี้ว่า “ภูพิงคราชนิเวศน์” โดยทรงเลือกจากหนึ่งใน 2 ชื่อ ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งเป็นที่ พระศาสนโสภณ เป็นผู้คิดชื่อถวาย คือ “พิงคัมพร” กับ “ภูพิงคราชนิเวศน์”

พระตำหนักแห่งนี้ ใช้เป็นที่ประทับในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน มาประทับแรมที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงงานและเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคเหนือ รวมทั้งเพื่อรับรองพระราชอาคันตุกะที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยในโอกาสต่าง ๆ การที่ทรงเลือกสร้างที่จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากมีอากาศเย็นสบาย ภูมิประเทศสวยงาม อีกทั้งเคยเป็นเมืองหลวงมาก่อน ผู้คนพลเมืองยังดำรงรักษา จารีตขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามไว้

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ มีลักษณะเป็นแผนผัง แบบเรือนไทยภาคกลางที่เรียกว่า “เรือนหมู่” มีรูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นไทยประเพณีประยุกต์ ก่ออิฐถือปูน ยกพื้นสูงหลังคาทรงไทย ภายในประกอบไปด้วยท้องพระโรง ห้องเสวย ห้องบรรทม และห้องสรง สำหรับพระราชอาคันตุกะ ตั้งอยู่คนละด้านมีเฉลียงใหญ่ และพลับพลาหอนกเป็นที่ประทับ ทอดพระเนตรทัศนียภาพของเมืองเชียงใหม่ ชั้นบนเป็นที่ประทับ ชั้นล่างเป็นที่อยู่ของมหาดเล็ก และคุณข้าหลวง

และได้ใช้พระตำหนักในการรับรองพระราชอาคันตุกะเป็นครั้งแรกคือ สมเด็จพระเจ้าเฟรดเดริคที่ 9 และสมเด็จพระราชินีอินกริต แห่งเดนมาร์ก เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2505 หลังจากนั้นก็มีประมุขของประเทศต่าง ๆ เป็นพระราชอาคันตุกะ มาประทับและพักที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ในเวลาต่อมาอีกหลายประเทศ เช่น สมเด็จพระนางเจ้าจูเลียน่า และเจ้าชายเบอร์ฮารท์ จากประเทศเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง และพระราชินีฟาบิโอล่า แห่งประเทศเบลเยี่ยม ฯลฯ เป็นต้น ส่วนตัวอาคารอื่น ๆ ได้มีการก่อสร้าง เพิ่มเติมขึ้นภายหลัง

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เปิดจำหน่ายบัตรเข้าชม 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงเช้า (08.30 – 11.30 น.) และช่วงบ่าย (13.00 – 15.30 น.) ปิดพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เวลา 16.30 น. อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชม สำหรับชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท ทั้งนี้ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 4 กิโลเมตร และเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุย

บริเวณหมู่บ้านจำหน่ายของที่ระลึกจำนวนมากซึ่งมีทั้งที่ผลิตภายในหมู่บ้าน และนำมาจากที่อื่นวางขายให้แก่นักท่องเที่ยว มีพิพิธภัณฑ์ม้ง สวนดอกไม้ซึ่งมีบริการถ่ายรูปแต่งชุดชาวเขา บริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านมีทิวทัศน์ที่สวยงาม สามารถมองเห็นดอยอินทนนท์ได้ นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมได้สะดวกเพราะอยู่ใกล้ตัวเมือง โดยใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนการเดินทาง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนดอยปุย ห่างจากพระตำหนักฯ 3 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอด สามารถเข้าไปเที่ยวด้วยตนเองได้ หรือจะเช่ารถสองแถวจากดอยสุเทพขึ้นไปได้ทุกฤดูกาล ประมาณคันละ 600-900 บาท

น้ำตกตาดหมอก

เป็นน้ำตกขนาดกลาง เกิดจากลำห้วยแม่แรม อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่ริม ประมาณ 5 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแม่ริม-สะเมิง แล้วแยกไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร การเดินทางไปน้ำตกตาดหมอก ต้องเดินทางโดยรถส่วนตัวเท่านั้น เนื่องจากรถบัสไม่สามารถเข้าถึง และไม่มีรถยนต์โดยสารวิ่งผ่าน

น้ำตกมณฑาธาร

น้ำตกมณฑาธารหรือน้ำตกสันป่ายาง เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งในเขตอุทยานฯ สูงกว่าระดับน้ำทะเล 730 เมตร มีทั้งหมด 9 ชั้น โดยมีน้ำตกไทรย้อย เป็นน้ำตกชั้นสูงสุด ที่ไหลมาจากห้วยคอกม้า แล้วไหลไปสมทบกับน้ำตกมณฑาธาร ผ่านผาเงิบ วังบัวบาน น้ำตกห้วยแก้ว ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง ที่มาของน้ำตกนั้นมาจากต้นมณฑา ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น ดอกสีขาว ใบใหญ่ สีเขียวจัด เห็นได้ทั่วไปตามข้างทาง ลักษณะของน้ำที่ตกลงมาแยกออกเป็น 2 สายเล็ก ๆ แล้วไหลลงสู่แอ่ง ก่อนจะผ่านลานหินลงไปชั้นที่ 1 อยู่ห่างจากน้ำตกห้วยแก้วประมาณ 3 กิโลเมตร

บริเวณน้ำตกมณฑาธาร มีบ้านพักนักท่องเที่ยว จำนวน 2 หลัง พักได้หลังละ 6 คน ราคาหลังละ 1,500 บาท และมีสถานที่กางเต็นท์ ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 150 คน สามารถสำรองบ้านพักได้ผ่านทางเว็บไซด์ www.dnp.go.th หรือ โทรสำรองที่พักได้ที่ 053-210244

น้ำตกแม่สา

เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีน้ำไหลตลอดปี มีทั้งหมด 10 ชั้น แต่ละชั้นห่างกันประมาณ 100-500 เมตร โดยเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปตามถนนสายแม่ริม-สะเมิง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร น้ำตกแม่สา เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ทั่วบริเวณ ทำให้สภาพอากาศร่มรื่นเย็นสบายตลอดปี ทำให้ได้รับความนิยมมาก

การเดินทางไปน้ำตกแม่สา นอกจากนำรถส่วนตัวหรือรถบัสไปแล้ว ยังสามารถนั่งรถโดยสารประจำทาง สายเชียงใหม่ – สะเมิง บริเวณข้างวัดแม่ริม ซึ่งท่านจะต้องขึ้นรถสายเชียงใหม่ – แม่ริม บริเวณตลาดวโรรส หรือขนส่งช้างเผือก แล้วลงรถที่สี่แยกวัดแม่ริม เพื่อต่อรถสายเชียงใหม่ – สะเมิง เพื่อไปเที่ยวน้ำตกแม่สา แต่ไม่มีบ้านพักไว้บริการ มีแต่สถานที่กางเต็นท์ และมีเต็นท์ให้เช่า ท่านสามารถติดต่อได้ที่ 053-229731 ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 50 คน

แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงกับน้ำตกแม่สา ส่วนมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวของเอกชน ซึ่งมีทั้ง ฟาร์มผีเสื้อ ฟาร์มงู ฟาร์มสุนัข โรงเรียนลิง กิจกรรมขี่ม้า การเล่นบันจี้จั๊ม การขี่รถบักจี้ ออฟโรด หรือเยี่ยมชมสวนพฤกษศาสตร์สิริกิติ์ ซึ่งอยู่ห่างจากน้ำตกแม่สาประมาณ 5 กิโลเมตร

น้ำตกศรีสังวาลย์

น้ำตกศรีสังวาลย์ เป็นน้ำตกขนาดกลาง เกิดจากลำห้วยแม่ปานตอนบน อยู่ในพื้นที่อำเภอหางดง สามารถเดินทางโดยใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1269 (หางดง-สะเมิง)

น้ำตกหมอกฟ้า

เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งของอุทยานฯ มีน้ำไหลตลอดปี ตั้งอยู่ในเขต อ.แม่แตง โดยเดินทางไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107) ถึงทางแยกบ้านแม่มาลัย อ.แม่แตง เลี้ยวซ้ายตามถนนสายแม่มาลัย-ปาย (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1095) รวมระยะทางประมาณ 58 กิโลเมตร ซึ่งการเดินทางไปน้ำตกหมอกฟ้า หากต้องการขึ้นรถโดยสารประจำทาง สามารถขึ้นได้ที่สถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ (อาเขต) เพื่อขึ้นรถสายเชียงใหม่ – ปาย แล้วลงรถตรงปากทางเข้าน้ำตกหมอกฟ้า แล้วต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร หรือหากนำรถไปเองก็สามารถนำไปได้ ยกเว้นรถบัส เนื่องจากระยะทางแคบและลาดชัน

น้ำตกหมอกฟ้า มีบริเวณที่เหมาะสำหรับการจัดทำค่าย เนื่องจากมีบ้านที่จัดเตรียมไว้สำหรับการจัดทำค่ายจำนวน 4 หลัง พักได้หลังละ 15 คน ราคาหลังละ 1,500 บาท และมีสถานที่กางเต็นท์ ซึ่งรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 150 คน สามารถสำรองบ้านพักได้ผ่านทางเว็บไซด์ www.dnp.go.th หรือ โทรสำรองที่พักได้ที่ 053-210244 หรือ 08-4616-2389

น้ำตกห้วยแก้ว

เป็นน้ำตกเล็ก ๆ สูงประมาณ 10 เมตร เกิดจากลำน้ำห้วยแก้ว อยู่บริเวณเชิงดอยใกล้ทางขึ้นดอยสุเทพ เหนือน้ำตกห้วยแก้วขึ้นไปเล็กน้อย จะเป็น “วังบัวบาน” เป็นสถานที่ที่กล่าวถึงตำนานรักอันอมตะที่ลือชื่อของสาวเหนือ และผาเงิบ ซึ่งอยู่เหนือวังบัวบานประมาณ 100 เมตร ใช้เป็นสถานที่พักผ่อน

บริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ เส้นทางน้ำตกห้วยแก้ว วังบัวบาน ผาเงิบ มีนกหลากชนิดที่น่าสนใจ ได้แก่ นกกระรางหัวหงอก นกแซงแซวหางปลา นกเขาเขียว และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นจุดชมนกที่น่าสนใจอีกแห่งในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

สันกู่

เมื่อปี พ.ศ.2526 หน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ ได้ขุดแต่งบูรณะซากโบราณสถานสันกู่ การทำงานในครั้งนั้น เป็นไปตามพระประสงค์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงทราบฝ่าละอองพระบาทว่า โบราณสถานแห่งนี้ถูกขุดทำลายเป็นเวลานานแล้ว สมควรให้กรมศิลปากรสำรวจและบูรณะให้อยู่ในสภาพที่ดีต่อไป นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดี

สภาพก่อนการขุดแต่ง เป็นเนินโบราณสถานที่มีต้นไม้หนาแน่น เมื่อขุดลอกดินที่ทับถมออก พบซากเจดีย์และฐานวิหาร ได้ขุดลอกหลุมที่เกิดจากการลักลอบขุดที่ตรงฐานเจดีย์ในระดับความลึก 5.30 เมตร พบโบราณวัตถุในกรุที่สำคัญ ได้แก่ เศียรพระพุทธรูป ศิลปะแบบหริภุญไชย พระพิมพ์ดินเผา ศิลปะแบบหริภุญไชย เศษเครื่องปั้นดินเผาเป็นชิ้นส่วนกระปุกขนาดเล็ก เป็นของจีน สมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.1911-2187) และการขุดแต่งส่วนอื่น พบเศษเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาสันกำแพง สันนิษฐาน โบราณสถานสันกู่มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-22

สันกู่ ตั้งอยู่บริเวณเส้นทางไปลานกางเต็นท์ดอยปุย ห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ประมาณ 4 กิโลเมตร เส้นทางค่อนข้างคดเคี้ยว และลาดชัน ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง

สถานีวิจัยดอยปุย
 
สถานีวิจัยดอยปุย หรือเรียกว่า สวนสองแสน ตั้งอยู่ที่ถนนศรีวิชัย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 119 ไร่ 2 งาน 2.5 ตารางวา เป็นแปลงทดลอง 74 ไร่ 1 งาน 97.5 ตารางวา สวนนี้นับเป็นสวนประวัติศาสตร์ของการเกษตรบนที่สูง คือเป็นสวนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 200,000 บาท เพื่อทรงสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาบนที่สูง เพื่อการจัดหาพื้นที่เพิ่มเติมให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการศึกษาวิจัยขอองมูลนิธิโครงการหลวง ในการดำเนินการวิจัยทดลองและขยายพันธุ์พืชเขตหนาว

การเดินทาง

          รถยนต์์

          จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ( สายเอเซีย ) ผ่าน อยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่าน จังหวัดลำปาง แยกซ้ายผ่านจังหวัดลำพูน ถึงตัวเมืองเชียงใหม่ รวมระยะทาง 696 กิโลเมตร

          รถโดยสารประจำทาง
    
          มีรถประจำทางของบริษัทขนส่งจำกัดทั้งรถธรรมดาและปรับอากาศและปรับอากาศชั้น หนึ่งบริการระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ : โทร. 0 2537 8055 – 6 (รถธรรมดา) และที่เชียงใหม่ โทร. 0 5324 1449, 0 5330 4748 นอกจากนี้ยังมีรถปรับอากาศชั้น 1 ของบริษัทรถร่วมเอกชนระหว่าง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่วันละหลายเที่ยว

          รถไฟ

          รถไฟจากหัวลำโพงมาเชียงใหม่ มีวันละ 7 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 06:20 – 22:00 น. โดยรถสปินเตอร์, รถเร็ว และรถด่วนพิเศษ เมื่อเดินทางมาถึงสถานีรถไฟ เชียงใหม่ สามารถเรียกบริการรถยนต์โดยสารที่จอดอยู่ประจำสถานีรถไฟเชียงใหม่ มาส่งที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ได้ ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่
 
           # สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 0-2223-7010 หรือ 0-2220-4334
          # สถานีรถไฟเชียงใหม่ โทร. 0-5324-4795, 0-5324-2094, 0-5324-7462 หรือ 0-5324-5363-4

          เครื่องบิน

          สายการบินที่เปิดให้บริการจากกรุงเทพฯ มาเชียงใหม่ ได้แก่ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ และสายการบินไทย จากสนามบินเชียงใหม่ สามารถจ้างเหมารถยนต์โดยสารรับจ้างมาเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ได้ ในอัตราที่แล้วแต่จะได้ตกลงกันไว้

 

          สำหรับการเดินทางไปแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ของอุทยานฯ สามารถเดินทางได้หลายวิธี ดังนี้ …

 น้ำตกมณฑาธาร ท่านสามารถนำรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว หรือรถมินิบัส เข้าไปบริเวณน้ำตกมณฑาธารได้ ซึ่งน้ำตกมณฑาธาร จะอยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวา แวะชำระค่าธรรมเนียมเข้าชมน้ำตก ก่อนเดินทางอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกมณฑาธาร

 พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ อยู่ห่างจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ ประมาณ 4 กิโลเมตร รถบัสไม่สามารถเข้าถึงได้ หากท่านไม่ได้นำรถมาเอง ต้องเช่า-เหมารถจากบริเวณหน้าวัดพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งรถจะบริการนำเที่ยวพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ยอดดอยปุย และบ้านม้งดอยปุย

 บ้านม้งดอยปุย อยู่ห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ประมาณ 4 กิโลเมตร เส้นทางจะคดเคี้ยว และลาดชัน ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง

 ยอดดอยปุย อยู่ห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ประมาณ 7 กิโลเมตร เส้นทางค่อนข้างแคบ และลาดชัน ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง

 น้ำตกตาดหมอก ท่านสามารถนำรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ส่วนตัว เข้าเยี่ยมชมน้ำตกตาดหมอกได้ แต่รถบัส ไม่สามารถเข้าถึงน้ำตกได้ เนื่องจากทางแคบ และคดเคี้ยว และไม่มีรถโดยสารประจำทางวิ่งผ่าน

 น้ำตกแม่สา ท่านสามารถนำรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว หรือรถบัส ไปเยี่ยมชมน้ำตกแม่สาได้ หรือจะนั่งรถโดยสารประจำทาง สายเชียงใหม่ – สะเมิง บริเวณข้างวัดแม่ริม ซึ่งท่านจะต้องขึ้นรถสายเชียงใหม่ – แม่ริม บริเวณตลาดวโรรส หรือขนส่งช้างเผือก แล้วลงรถที่สี่แยกวัดแม่ริม เพื่อต่อรถสายเชียงใหม่ – สะเมิง เพื่อไปเที่ยวน้ำตกแม่สา

 น้ำตกหมอกฟ้า ท่านสามารถนำรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ส่วนตัว ไปได้ แต่รถบัสไม่สามารถเข้าถึงน้ำตกได้ เนื่องจากทางแคบ และลาดชัน หากต้องการขึ้นรถโดยสารประจำทาง สามารถขึ้นได้ที่สถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ (อาเขต) เพื่อขึ้นรถสายเชียงใหม่ – ปาย แล้วลงรถตรงปากทางเข้าน้ำตกหมอกฟ้า แล้วต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ. เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 0 5321 0244 โทรสาร 0 5321 2065 อีเมล doisuthep_pui@hotmail.com

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
   

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

You may also like...

You cannot copy content of this page